สารทำความสะอาด
ปัจจุบันสารทำความสะอาดหรือที่เรียกว่า ดีเทอร์เจน (Detergent) มีมากมายหลายชนิดเรานำมาใช้ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคตามร่างกาย เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับ
ข้อระมัดระวังในการใช้สารทำความสะอาดแต่ละชนิด จะช่วยให้เรามีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น
รวมถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับ เราสามารถแบ่งสาร ทำความได้ 3 ประเภทคือ
1. สารที่ใช้กำจัดรอยเปื้อนและใช้ซักฟอกเสื้อผ้า
2. สารที่ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
3. สารทำความสะอาดโลหะ
สารที่ใช้กำจัดรอยเปื้อนและใช้ซักฟอกเสื้อผ้า มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด อาทิ สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง เป็นต้น
สบู่ (Soap) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือ มีคุณสมบัติในการซักล้างหรือชำระล้างร่างกายได้บู่ทำมาจากไขมันหรือน้ำมันมารวมกับเบสเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ซะพอลนิฟิเคชั่น(Saponification) นำไปเคี่ยวหรือต้ม จะได้สบู่กับกลีเซอรีน (Glycerine)ต้องสมการเช่น
ไขมันหรือน้ำมันที่นิยมนำมาใช้ทำสบู่ ได้แก่ ไขมันวัวแกะไขมันพวกนี้เมื่อทำเป็นสบู่แล้วจะช่วยทำความสะอาด ได้ดuมีแต่ไม่ค่อยละลายน้ำ ส่วนน้ำมันได้จาก น้ำมันพืช เช่น มะพร้าว ถั่ว สำหรับเบส ที่นิยมนำมาใช้ใน
การผลิตสบู่มี 2 ชนิด คือ
1. โซดาไพหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide : NaOH) เมื่อนำมารวมกับไขมันหรือน้ำมันแล้วจะได้สบู่แข็ง เช่น สบู่ถูตัว
2. ด่างคลีหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide : KOH) เมื่อนำมารวมกับไขมัน หรือน้ำมันแล้วจะได้สบู่เหลว เช่น สบู่โกนหนวด
ดังนั้นถ้าต้องการสบู่ที่ไม่แข็งไม่อ่อนจนเกินไป ต้องนำไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์มารวมกัน และมีการเติมสารบางชนิดลงไปในสบู่ เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น เช่นสารเพิ่มความสะอาด โดยมากจะเป็นพวกเบส เช่น โซดาซักผ้า (Na2Co3)โซเดียมซิลิเกต(Na2SiO3) โซเดียมฟอสเฟต(Na3PO4)ซึ่งไม่เหมาะที่นุมาถูตัวหรือทำความสะอาดวัตถุที่มีเนื้อบางเบา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือการแพ้ได้
ผงซักฟอก (Synthetic Deter)
- สารแต่งกลิ่นหอม ส่วนใหญ่เป็นพวกน้ำมันหอมระเหย หัวน้ำหอม เพื่อให้ความรู้สึกสดชื่นเวลาใช้
- สารฆ่าเชื้อและระงับกลิ่น เช่น ไดรโครคาร์บาน (Triclocaban)
- สี เพื่อให้สบู่มีลักษณะสวยงามน่าใช้
เป็นสารขจัดคราบสกปรกได้ดีกว่าสบู่ เตรียมได้จากการนำน้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว ที่นิยมใช้คือ น้ำมันมะพร้าว เพราะน้ำมันมะพร้าว เป็นกลีเซอไรด์ ของกรดลอริก (Lauric Acid) หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบางชนิดเช่น เบนซีน แนฟทาลีนมาทำปฏิกิริยากับกำมะถันจะได้
ผงซักฟอกที่มีลักษณะ เป็นของแข็งสีขาวเรียกว่า โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulphate) หรือผงซักฟอกชนิดเหลวใสเรียกว่าแอมโมเนียมลอริลซัลเฟต (Ammonium Lauryl Sulphate ) ดังสมการ
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นที่เติมลงไป เพื่อให้ผงซักฟอกมีคุณภาพดีขึ้น สารดังกล่าวได้แก่
- เพนตะโซเดียมไตรพอลิฟอสเฟต (Penta Sodium Tripolyphosphate) เป็นสารที่ช่วยแก้ความกระด้างของน้ำให้มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ทำให้เหมาะแก่การซักฟอก
-สารฟอกขาว (Bleach) ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ คลอรีน (Chlorine Bleaches) และเปอร์ออกซิเจน
(Peroxygen Bleaches ) เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ช่วยทำให้ผ้าดูขาวขึ้นเมื่อถูกแสง
อุลตร้าไวโอเลต
-โซเดียมคาร์บอกซิลเมธิลลูโลส (Sodium Carboxyl Methyl Cellulose : CMC) เป็นตัวที่ช่วยทำให้สิ่งสกปรกที่หลุดออกจากผ้ามาอยู่ในน้ำ ไม่ให้กลับไปเกาะที่ผ้าอีก
- โซเดียมซิลิเกต (Sodium Silicate) ป้องกันการผุกร่อนของโลหะและรักษาความเป็นเบสของน้ำให้คงที่
- น้ำหอม สีและยาฆ่าเชื้อโรค
- สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) เป็นสารที่มีพลังในการซักฟอกที่ดี หาง่าย ราคาถูกที่นิยมได้แก่
โซเดียมอัลคิลเบนซีนซับโฟเนต (Sodium Alkyl Benzene Sulfonate) มี 2 ชนิด คือ
1.สารลดแรงติงผิวที่มีโครงร่างแบบเส้นตรง (Linear Alkyl Benzene Sulfonate : LAS)
2.สารลดแรงตึงผิวที่มีโครงร่างแบบกิ่ง (Branched Alky Benzene Sulfonate : BAS)
ที่นิยมใช้เป็นแบบ LAS เพราะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติดีกว่า BAS จึงช่วยลดปัญหาการเกิด
มลพิษทางน้ำได้มากกว่า
น้ำยาซักแห้ง (Dry-Cleaning) เป็นการนำตัวทำละลายมาใช้ในการขจัดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้า
ตัวทำละลายที่นิยมใช้ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ในการใช้ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นพิษต่อระบบ
ทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีตัวทำละลายอื่นๆอีก เช่น อะซิโตน โซเดียมลอริลซัลเฟต แอมโมเนียมลอริลซัลเฟต
สารที่ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ได้แก่
1. ฟีนอลและกรดคาร์บอลิก (Phenol and carbolic Acid) ใช้ผสมในสบู่สำหรับฆ่าเชื้อโรคสามารถทำลาย
แบคทีเรียให้ตายภายใน 5 นาที
2. เครซอล (Cresol) มีฤทธิ์แรงกว่าฟีนอล ราคาถูกว่าและการจับต้องมีความปลอดภัยมากว่าฟีนอล นำมา
ใช้ผสมในน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคตามบ้านเรือน เช่น ไลโซล (Lysol)
3. เฮกซะคลอโรฟิลล์ (Hexachlorophtll) ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และฆ่าเชื้อตามผิวหนัง
จึงนำมาผสม ในสบู่ น้ำยาดับกลิ่น และเครื่องสำอาง
4. คลอรอกซ์ (Cresox) คือสารละลายคลอรีนที่มีความเข้มข้นสูง ใช้ทำลายเชื้อโรคในน้ำ ผัก ผลไม้
และสามารถทำลายไข่พยาธิได้ นิยมนำมาฆ่าเชื้อโรคในการผลิตน้ำประปา
5. คลีนนิ่งมิกซ์เจอร์ (Cleaning Mixture) ใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้ว มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด สามารถ
ทำขึ้นเองได้ง่ายๆดังนี้น้ำยาไดโครเมต ทำได้โดยการเติมกรดกำมะถัน 250 มิลลิลิตร ลงในน้ำ 750 มิลลิลิตร
จากนั้นละลายโซเดียมไดโครเมต (Na2Cr2O7) หรือโพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) หนัก 100 กรัมในน้ำร้อนแล้วเติมน้ำยานี้ลงไปในกรดกำมะถันที่เตรียมไว้ สามารถทำความสะอาดเครื่องแก้วหได้ทุกชนิด
น้ำยากรด ต้องทำในตู้ดูดควัน โดยการเติมกรดไนตริก (HNO3) 100 มิลลิลิตร ลงในกรดกำมะถัน
เข้มข้น (H2SO4) 900 มิลลิลิตร จะเกิดเป็นฟองก๊าซและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก (ไม่ควรสูดดมเข้าไปจะกัดเยื่อจมูก) สามารถชำระล้างพวกไขมันได้ดี
6.น้ำยาเช็ดกระจก เราสามาทำได้ง่ายๆโดยใช้แอมโมเนีย (NH4) โซดาซักผ้า (NaOH) หรือบอแรกซ์ (Borax)
มาละลายน้ำ ใช้ทำความสะอาดกระจกได้ดีพอสมควร น้ำยาเช็ดกระจกที่นิยมนำมาใช้เป็นประเภทที่ใช้
ไอโซโพรลีนแอลกอฮอล์ (Isopropylene Alcohol) ผสมกับน้ำ ประมาณ 15-25% แล้วเติมแอมโมเนีย
สบู่น้ำหอม สี เพื่อให้น้ำยามีคุณภาพดีขึ้น น้ำยาประเภทนี้เหมาะสำหรับล้างกระจกที่เปื้อนน้ำมัน ไขหรือจาระบี อาจมีการผสมขี้ผึ้ง เพื่อให้กระจกที่เช็ดแล้วขึ้นเงามันและน้ำมันไม่จับ
7. น้ำยาดับกลิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำหรือในรถยนต์ ทำโดยการนำพาราไดคลอ
โรเบนซีน (Paradechlorobenzene) ผสมกับน้ำหอม อัดเป็นก้อน
8. ยาล้างท่ออุดตัน นิยมใช้โซดาไฟ(NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ซึ่งเป็นสารที่ทำปฏิกิริยาได้ดีกับไขมันและตะกรันในท่อ เกิดเป็นสบู่ที่ละลายในน้ำได้ อาจมีการเติมผงอะลูมิเนียมหรือสังกะสีลงไปเมื่อผงอะลูมิเนียมหรือสังกะสีทำปฏิกิริยากับเบส จะเกิดเป็นฟองก๊าซแทรกระหว่างเศษผงที่อุดตัน กระตุ้นให้ผงเหล่านั้นหลุดผ่านท่อไปสะดวกขึ้นอีก
9. ยาล้างโถส้วม ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
9.1 ชนิดที่เป็นผง ใช้โซเดียมไบซับเฟต (NaHSO4) ไม่เหมาะกับการทำความสะอาดอ่างอาบน้ำ
อ่างล้างมือ และเครื่องโลหะ เนื่องจากเมื่อละลายน้ำจะเป็นกรดกำมะถัน
9.2 ชนิดที่เป็นของเหลว ใช้กรดเกลือเข้มข้น (HCI) ประมาณร้อยละ16
Comments are closed.
|
Thanapon
|