Siam Absolute Chemicals Co.,Ltd  บริษัท สยาม แอ็บโซลูท เคมีคอล จำกัด
Siam Absolute Chemicals Co., Ltd
      Tel (+66) 0657924695
  • Home
  • About Us
  • Our Products
    • Glycerine >
      • กลีเซอรีนจากธรรมชาติแท้
      • กลีเซอรีน
      • กลีเซอรีน 80% Crude Glycerin
      • Vegetable Glycerine
      • เบสสบู่กลีเซอรีนแท้ 100% ราคา
      • เบสสบู่กลีเซอรีนแท้ 100%
    • SURFACTANTS >
      • SLES 70-2N
      • สารเพิ่มฟอง ผงฟองเส้น มาเลย์
    • FATTY ALCOHOL
    • STEARIC ACID TRIPPLE PRESS
    • Coconut Cooking Oil
    • White Oil No.15
    • DEA
    • MPG USP
    • NP-9
    • กลีเซอรีนดิบ Crude Glycerine (ศูนย์รวมซื้อขาย)
    • Siam Absolute Soap
    • OTHER
  • Forums
    • Blog
  • Job Opportunity
    • Sale Representative (Chemicals)
    • Office Administration
    • Co-Transporter
  • Contact Us
    • FAQs
  • Order
  • สบู่ รับจ้างผลิต ขายปลีก ขายส่ง
  • สบู่ รับจ้างผลิต ขายปลีก ขายส่ง
  • กลีเซอรีนทำอาหารสัตว์
  • ห้องเรียนออนไลน์
  • COA Glycerine
  • SOAP NOODLES

สารทำความสะอาดโลหะ

1/31/2013

 
สารทำความสะอาดโลหะ ได้แก่
สารละลายโพแทสเซียมไซยาไนด์(KCN)หรือโซเดียมไซยาไนด์(NaCN) นิยมนำมาใช้ทำความสะอาด
เครื่องเงิน แต่ไม่นิยมใช้ตามบ้านเรือน เพราะมีพิษมากใช้จำนวนเล็กน้อย ก็ทำให้ตายได้ จึงมักใช้ตาม
โรงงานมากกว่า สารประกอบซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) สามารถขัดเอาสีดำของเงินออกไป แต่จะ
ทำให้เครื่องใช้สึกถ้าขัดเสมอๆ
  1. กรดออกซาลิก (Oxalic Acisd) ใช้ได้ดีในการทำความสะอาดเครื่องทองเหลืองและทองแดง แต่มีพิษต่อร่างกายควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
  2. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (Ammonium Hydroxide:NH4OH) สารนี้จะทำความสะอาดผิวนอก
    ของโลหะ โดยการทำลายออกไซด์ที่เคลือบผิวของทองเหลืองและทองแดง

สารทำความสะอาด 

1/31/2013

 
สารทำความสะอาด
ปัจจุบันสารทำความสะอาดหรือที่เรียกว่า ดีเทอร์เจน (Detergent) มีมากมายหลายชนิดเรานำมาใช้ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคตามร่างกาย เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับ
ข้อระมัดระวังในการใช้สารทำความสะอาดแต่ละชนิด จะช่วยให้เรามีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น
รวมถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับ เราสามารถแบ่งสาร ทำความได้ 3 ประเภทคือ
1. สารที่ใช้กำจัดรอยเปื้อนและใช้ซักฟอกเสื้อผ้า
2. สารที่ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
3. สารทำความสะอาดโลหะ
สารที่ใช้กำจัดรอยเปื้อนและใช้ซักฟอกเสื้อผ้า มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด อาทิ สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง เป็นต้น
สบู่ (Soap) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือ มีคุณสมบัติในการซักล้างหรือชำระล้างร่างกายได้บู่ทำมาจากไขมันหรือน้ำมันมารวมกับเบสเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ซะพอลนิฟิเคชั่น(Saponification) นำไปเคี่ยวหรือต้ม จะได้สบู่กับกลีเซอรีน (Glycerine)ต้องสมการเช่น
ไขมันหรือน้ำมันที่นิยมนำมาใช้ทำสบู่ ได้แก่ ไขมันวัวแกะไขมันพวกนี้เมื่อทำเป็นสบู่แล้วจะช่วยทำความสะอาด ได้ดuมีแต่ไม่ค่อยละลายน้ำ ส่วนน้ำมันได้จาก น้ำมันพืช เช่น มะพร้าว ถั่ว สำหรับเบส ที่นิยมนำมาใช้ใน
การผลิตสบู่มี 2 ชนิด คือ
1. โซดาไพหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide : NaOH) เมื่อนำมารวมกับไขมันหรือน้ำมันแล้วจะได้สบู่แข็ง เช่น สบู่ถูตัว
2. ด่างคลีหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide : KOH) เมื่อนำมารวมกับไขมัน หรือน้ำมันแล้วจะได้สบู่เหลว เช่น สบู่โกนหนวด
ดังนั้นถ้าต้องการสบู่ที่ไม่แข็งไม่อ่อนจนเกินไป ต้องนำไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์มารวมกัน และมีการเติมสารบางชนิดลงไปในสบู่ เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น เช่นสารเพิ่มความสะอาด โดยมากจะเป็นพวกเบส เช่น โซดาซักผ้า (Na2Co3)โซเดียมซิลิเกต(Na2SiO3) โซเดียมฟอสเฟต(Na3PO4)ซึ่งไม่เหมาะที่นุมาถูตัวหรือทำความสะอาดวัตถุที่มีเนื้อบางเบา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือการแพ้ได้
  1. สารแต่งกลิ่นหอม ส่วนใหญ่เป็นพวกน้ำมันหอมระเหย หัวน้ำหอม เพื่อให้ความรู้สึกสดชื่นเวลาใช้
  2. สารฆ่าเชื้อและระงับกลิ่น เช่น ไดรโครคาร์บาน (Triclocaban)
  3. สี เพื่อให้สบู่มีลักษณะสวยงามน่าใช้
ผงซักฟอก (Synthetic Deter)
เป็นสารขจัดคราบสกปรกได้ดีกว่าสบู่ เตรียมได้จากการนำน้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว ที่นิยมใช้คือ น้ำมันมะพร้าว เพราะน้ำมันมะพร้าว เป็นกลีเซอไรด์ ของกรดลอริก (Lauric Acid) หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบางชนิดเช่น เบนซีน แนฟทาลีนมาทำปฏิกิริยากับกำมะถันจะได้
ผงซักฟอกที่มีลักษณะ เป็นของแข็งสีขาวเรียกว่า โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulphate) หรือผงซักฟอกชนิดเหลวใสเรียกว่าแอมโมเนียมลอริลซัลเฟต (Ammonium Lauryl Sulphate ) ดังสมการ
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นที่เติมลงไป เพื่อให้ผงซักฟอกมีคุณภาพดีขึ้น สารดังกล่าวได้แก่
- เพนตะโซเดียมไตรพอลิฟอสเฟต (Penta Sodium Tripolyphosphate) เป็นสารที่ช่วยแก้ความกระด้างของน้ำให้มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ทำให้เหมาะแก่การซักฟอก
-สารฟอกขาว (Bleach) ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ คลอรีน (Chlorine Bleaches) และเปอร์ออกซิเจน
(Peroxygen Bleaches ) เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ช่วยทำให้ผ้าดูขาวขึ้นเมื่อถูกแสง
อุลตร้าไวโอเลต
-โซเดียมคาร์บอกซิลเมธิลลูโลส (Sodium Carboxyl Methyl Cellulose : CMC) เป็นตัวที่ช่วยทำให้สิ่งสกปรกที่หลุดออกจากผ้ามาอยู่ในน้ำ ไม่ให้กลับไปเกาะที่ผ้าอีก
- โซเดียมซิลิเกต (Sodium Silicate) ป้องกันการผุกร่อนของโลหะและรักษาความเป็นเบสของน้ำให้คงที่
- น้ำหอม สีและยาฆ่าเชื้อโรค
- สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) เป็นสารที่มีพลังในการซักฟอกที่ดี หาง่าย ราคาถูกที่นิยมได้แก่
โซเดียมอัลคิลเบนซีนซับโฟเนต (Sodium Alkyl Benzene Sulfonate) มี 2 ชนิด คือ
1.สารลดแรงติงผิวที่มีโครงร่างแบบเส้นตรง (Linear Alkyl Benzene Sulfonate : LAS)
2.สารลดแรงตึงผิวที่มีโครงร่างแบบกิ่ง (Branched Alky Benzene Sulfonate : BAS)
ที่นิยมใช้เป็นแบบ LAS เพราะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติดีกว่า BAS จึงช่วยลดปัญหาการเกิด
มลพิษทางน้ำได้มากกว่า
น้ำยาซักแห้ง (Dry-Cleaning)
เป็นการนำตัวทำละลายมาใช้ในการขจัดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้า
ตัวทำละลายที่นิยมใช้ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ในการใช้ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นพิษต่อระบบ
ทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีตัวทำละลายอื่นๆอีก เช่น อะซิโตน โซเดียมลอริลซัลเฟต แอมโมเนียมลอริลซัลเฟต
สารที่ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ได้แก่
1. ฟีนอลและกรดคาร์บอลิก (Phenol and carbolic Acid) ใช้ผสมในสบู่สำหรับฆ่าเชื้อโรคสามารถทำลาย
แบคทีเรียให้ตายภายใน 5 นาที
2. เครซอล (Cresol) มีฤทธิ์แรงกว่าฟีนอล ราคาถูกว่าและการจับต้องมีความปลอดภัยมากว่าฟีนอล นำมา
ใช้ผสมในน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคตามบ้านเรือน เช่น ไลโซล (Lysol)
3. เฮกซะคลอโรฟิลล์ (Hexachlorophtll) ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และฆ่าเชื้อตามผิวหนัง
จึงนำมาผสม ในสบู่ น้ำยาดับกลิ่น และเครื่องสำอาง
4. คลอรอกซ์ (Cresox) คือสารละลายคลอรีนที่มีความเข้มข้นสูง ใช้ทำลายเชื้อโรคในน้ำ ผัก ผลไม้
และสามารถทำลายไข่พยาธิได้ นิยมนำมาฆ่าเชื้อโรคในการผลิตน้ำประปา
5. คลีนนิ่งมิกซ์เจอร์ (Cleaning Mixture) ใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้ว มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด สามารถ
ทำขึ้นเองได้ง่ายๆดังนี้น้ำยาไดโครเมต ทำได้โดยการเติมกรดกำมะถัน 250 มิลลิลิตร ลงในน้ำ 750 มิลลิลิตร
จากนั้นละลายโซเดียมไดโครเมต (Na2Cr2O7) หรือโพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) หนัก 100 กรัมในน้ำร้อนแล้วเติมน้ำยานี้ลงไปในกรดกำมะถันที่เตรียมไว้ สามารถทำความสะอาดเครื่องแก้วหได้ทุกชนิด
น้ำยากรด ต้องทำในตู้ดูดควัน โดยการเติมกรดไนตริก (HNO3) 100 มิลลิลิตร ลงในกรดกำมะถัน
เข้มข้น (H2SO4) 900 มิลลิลิตร จะเกิดเป็นฟองก๊าซและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก (ไม่ควรสูดดมเข้าไปจะกัดเยื่อจมูก) สามารถชำระล้างพวกไขมันได้ดี
6.น้ำยาเช็ดกระจก เราสามาทำได้ง่ายๆโดยใช้แอมโมเนีย (NH4) โซดาซักผ้า (NaOH) หรือบอแรกซ์ (Borax)
มาละลายน้ำ ใช้ทำความสะอาดกระจกได้ดีพอสมควร น้ำยาเช็ดกระจกที่นิยมนำมาใช้เป็นประเภทที่ใช้
ไอโซโพรลีนแอลกอฮอล์ (Isopropylene Alcohol) ผสมกับน้ำ ประมาณ 15-25% แล้วเติมแอมโมเนีย
สบู่น้ำหอม สี เพื่อให้น้ำยามีคุณภาพดีขึ้น น้ำยาประเภทนี้เหมาะสำหรับล้างกระจกที่เปื้อนน้ำมัน ไขหรือจาระบี อาจมีการผสมขี้ผึ้ง เพื่อให้กระจกที่เช็ดแล้วขึ้นเงามันและน้ำมันไม่จับ
7. น้ำยาดับกลิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำหรือในรถยนต์ ทำโดยการนำพาราไดคลอ
โรเบนซีน (Paradechlorobenzene) ผสมกับน้ำหอม อัดเป็นก้อน
8. ยาล้างท่ออุดตัน นิยมใช้โซดาไฟ(NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ซึ่งเป็นสารที่ทำปฏิกิริยาได้ดีกับไขมันและตะกรันในท่อ เกิดเป็นสบู่ที่ละลายในน้ำได้ อาจมีการเติมผงอะลูมิเนียมหรือสังกะสีลงไปเมื่อผงอะลูมิเนียมหรือสังกะสีทำปฏิกิริยากับเบส จะเกิดเป็นฟองก๊าซแทรกระหว่างเศษผงที่อุดตัน กระตุ้นให้ผงเหล่านั้นหลุดผ่านท่อไปสะดวกขึ้นอีก
9. ยาล้างโถส้วม ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
9.1 ชนิดที่เป็นผง ใช้โซเดียมไบซับเฟต (NaHSO4) ไม่เหมาะกับการทำความสะอาดอ่างอาบน้ำ
อ่างล้างมือ และเครื่องโลหะ เนื่องจากเมื่อละลายน้ำจะเป็นกรดกำมะถัน
9.2 ชนิดที่เป็นของเหลว ใช้กรดเกลือเข้มข้น (HCI) ประมาณร้อยละ16 

เครื่องสำอางที่ใช้ในช่องปาก

1/31/2013

 
เครื่องสำอางที่ใช้ในช่องปาก
มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดและกลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในช่องปากได้แก่
ยาสีฟัน (Dentrifices)
เป็นเครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาดฟันพื่อกำจัดเศษอาหาร จุลินทรีย์
และคราบสกปรก ประกอบด้วย สารฆ่าเชื้อ(Antiseptic)สารแต่งกลิ่นหอม
และฟลูออไรด์ (Fluoride)ที่มีประมาณไม่เกินร้อยละ 0.11 หรือ1,100ppm
(Part Per Million: ในล้านส่วน)ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เป็นกระ

ยาอมบ้วนปาก (Mouthwashes) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้อมบ้วนปากทำให้ช่องปาก
สะอาดสดชื่น กลับกลิ่นปากขจัดเศษอาหารและคราบสกปรก มี 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่มีสารต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial Mouthwashes) จะช่วยเคลือบฟัน
ให้แข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดจากเอนไซม์และอาหาร
2.ชนิดที่มีฟลูออไรด์(Fluoride Mouthwashes) จะช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง
ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดจากเอนไซม์และอาหาร

ลิปสติก (Lipstick

1/31/2013

 
ลิปสติก (Lipstick) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้แต่งสีริมฝีปากให้สวยงามชุ่มชื้น
อ่อนนุ่มไม่แห้งแตกประกอบด้วย
1. ตัวสี เป็นสีที่ละลายในไขมันหรือน้ำมันได้จากธรรมชาติหรือ
จากการสังเคราะห์และเป็นสีที่อนุญาติให้ใช้ในเครื่องสำอางเท่านั้น
2.น้ำหอม ได้จากการสังเคราะห์หรือได้จากธรรมชาติ
3.ทาง่ายไม่เป็นคราบและไม่เลอะเยิ้มออกนอกรูปปากเมื่อทาทิ้งไว้นาน
4. มีสีสวยงาม เนื้อเรียบ ไม่แตกร่อนหรือเป็นก้อนแข็ง

เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า 

1/31/2013

 
เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า
ใบหน้าเป็นบริเวณที่เราสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากที่สุด ดังนั้นการรักษาใบหน้าให้สวยงามจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการใบหน้ามีลักษณะอ่อนนุ่มและบอบบางกว่าบริเวณอื่น อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่สัมผัสกับเครื่องสำอางมากที่สุด แบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
1. เครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาดใบหน้า เช่น สบู่เหลว โฟมล้างหน้า ครีมล้างหน้า ยากำจัดสิวและฝ้า
2. เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว เช่น ครีมนวดหน้า ครีมสมานรูขุมขน
3. เครื่องสำอางที่ใช้ตกแต่งใบหน้า เช่น รูช ลิปสติก อายชาโดว์ มัสคาร่า แป้งผัดหน้า
ครีมล้างหน้า (Cleansing Cream)
ใช้ในการชำระล้างเครื่องสำอางออกจากใบหน้า มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำ น้ำมัน อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) และน้ำหอม ทำให้รูขุมขนบนใบหน้า เปิดกว้างขึ้นเครี่องสำอางจึงหลุดออได้ง่ายขึ้น
ยากำจัดสิวและฝ้า
สิว (Comedone) เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน การรักษาสิวต้องพยายามขจัดการอุดตันของต่อม
ไขมัน โดยใช้ยาทาในบริเวณที่เกิดการอุดตัน ยาขจัดการอุตันที่ได้ผลที่สุดคือกรดวิตามิน เอ (Vitamin A
Acid) อาจใช้ร่วมกับ เบนซอลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ที่ความเข้มข้น 5% ฝ้า (Melasma)
เกิดจากการเสียสมดุลของการสร้างเม็ดสี (Melanin)ของผิวหนังและจากการกระตุ้นโดยแสงแดด
ในช่วงที่มีรังสีอุลตร้าไวโอเลตสูง (09.00-15.00น.) ทำให้มีลักษณะเป็นปื้นบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก
สันจมูกหรือริมฝีปากกระ(Freckle) เป็นผลมาจากแสงแดดในช่วง UV-B หรือจากธรรมชาติของผิวหนัง
มีลักษณะเป็นจุดเดี่ยวๆ ไม่มีแนวโน้มจะมารวมเป็นปื้นเหมือนกับฝ้า
การรักษาฝ้าและกระ
การรักษาฝ้าและกระ ทำโดยการปรับสมดุลของฮอร์โมนในการสร้างเม็ดสี ซึ่งทำได้ยากมากนื่องจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอังนั้นส่วนใหญ่
คนที่มักจะไม่หายขาด แต่เราสามารถหลีกเลี่ยง แสงแดด และเครื่องสำอาง
ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้าและกระหรือไม
่ก็ใช้ยาขจัดฝ้าและกระ ซึ่งมีส่วนผสมของกรดวิตามิน เอ (Vitamin A Acid) กรดอะซีลิค (Azelic Acid)หรือดีคาร์บอกซีลิก (Decarboxylic Acid)
ครีมนวดหน้า เป็นเครื่องสำรองที่ประกอบด้วยน้ำกับน้ำมัน แล้วแต่งกลิ่นด้วยน้ำหอม การนวดที่ถูกวิธีจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ผิวหนังดูเปล่งปลั่งและเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหน้า
ครีมสมานรูขุมขน มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ตัวยาสมานรูขุมขน ทำให้ผิวหนังเต่งตึงสดชื่น
ละเอียดเนียนตา มักใช้หลังจากการล้างหน้า เพื่อกระชับรูขุมขนที่ผิวหน้า
แป้งผัดหน้า (Face Powder)
หรือแป้งแต่งหน้าีองค์ประกอบของตัวแป้งน้ำกับน้ำมันและน้ำหอมช่วยให้ดุเนียนตา
เพิ่มความงดงาม่วยกลบเกลื่อนริ้วรอยอันไม่พึงประสงค์และลดความมันบนใบหน้า
นิยมใช้คือ แป้งเค้ก เป็นแป้งที่แข็ง ซึ่งใช้ฟองน้ำชื้นๆผัดหน้าเพื่อให้เนื้อแป้งติดทนนาน แต่ต้องระวังความ
สะอาดของฟองน้ำด้วย เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวขึ้นได้
อายชาโดว์ (Eyeshowdow) ประกอบด้วยตัวสีกระจายตัวอยู่ในเนื้อยา สารแต่งกลิ่นหอม
และอาจเพิ่มประกายมุขด้วย มี 4 แบบคือ เป็นของเหลว เป็นครีม เป็นแท่ง และเป็นฝุ่นผง ที่นิยมใช้คือ
ชนิดที่เป็นฝุ่นผงอัดแน่นในตลับ เนื่องจากพกติดตัวง่ายและใช้สะดวก
มัสคาร่า (Mascara) เป็นเครื่องสำอางตกแต่งขนตาให้ดูเข้มและหนาขึ้น ประกอบด้วยตัวสีกระจาย
อยู่ในเนื้อยา มี4แบบคือ Cake Mascara, Cream Mascara, Liquid Mascara ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เป็นแบบ Liquid Mascara เพราะสะดวกในการใช้งาน เมื่อใช้เสร็จแล้วควรปิดทันทีจะได้ไม่แห้งเร็ว ควรใช้
ภายใน 1 ปี หลังจากเปิดขวด เพื่อความปลอดภัยของดวงตาบางครั้งมีการเติมเส้นใยลงไป เมื่อทาแล้ว เส้นใย
เหล่านั้นจะอยู่บนขนตาทำให้แลดูขนตายาวขึ้นและหนาขึ้น
อายครีม(Eye Cream) และอายโลชั่น (Eye Lotion)
อายครีม (Eye Cream) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้ทารอบดวงตา เพื่อป้องกันตาแห้งจนเกินไป
โดยมีส่วนประกอบเป็นอนุพันธ์ของอีมอลเลียนท์ (Emollient) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
อายโลชั่น(Eye Lotion) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้หยอดตา เพื่อให้ดวงตาดูแจ่มใส สะอาด เป็นประกาย
ส่วนประกอบอาจมียาฆ่าเชื่ออ่อนๆที่ไม่ทำให้ระคายเคืองตา สารลดความเจ็บปวดตา
รูช(Rouge) หรือ บรัชออน (Brush on) เป็นเครื่องสำอางที่ใช้ในการตกแต่งแก้มให้มีสีสัน
สวยงาม ดูสดชื่น มีสุขภาพดี มี 4 ประเภทคือ เป็นของเหลว เป็นครีม เป็นไขหรือน้ำมัน เป็นแป้งผง
ที่นิยมใช้มากเป็นชนิด แป้งผงอัดใส่ในตลับ เรียกว่า Pressed Powder หรือ Compact Rouge
เพราะพกติดตัวได้ง่ายใช้สะดวก สีกระจายสม่ำเสมอแลดูเนียนสวยงาม ไม่เหนอะหนะ

เครื่องสำอางสำหรับผมและขน 

1/31/2013

 
เครื่องสำอางสำหรับผมและขน
มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด การใช้งานขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ได้แก่
แชมพูสระผม (Shampoo)
ทำหน้าที่นการชำระล้างคราบไขฝุ่นและสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ มีองค์ประกอบดังนี้
1. สารลดแรงตึงผิวหลัก ทำหน้าที่ ในการชำระล้างคราบไข ฝุ่นละออง ในเส้นผม
แต่มีข้อเสียคือ ทำให้หวีจัดทรงยากละอาจเกิดการระคายเคืองผิวบริเวณหนังศีรษะ
2. สารช่วยลดแรงตึงผิว ทำหน้าที่ ช่วยเสริมสารลดแรงตึงผิวหลักที่ขาดหายไป เช่นช่วยเพิ่มฟอง เพิ่มอำนาจในการชะล้างแลปรับสภาพเส้นผม
3. สารเสริมผลิตภัณฑ์ เป็นสารที่เติมลงไปในแชมพู เพื่อให้ผลิตภัณฑ์น่าใช้มากขึ้น เช่นสารแต่งสี
สารแต่งกลิ่น สารกันบูด สารปรับสภาพเส้นผม (Hair Conditioner) สารบำรุงเส้นผม (Hair Tonic)

น้ำยาดัดผม (Hair Waving Preparation) มี 2 แบบ คือ
น้ำยาดัดร้อน (Hot Wave Lotion) เป็นน้ำยาที่ต้องอาศัยความร้อนจากไฟฟ้าหรือจากเตาถ่านมาช่วย
ในการ ดัดผม จึงมีความยุ่งยากมาก ปัจจุบันในการดัดผมนิยมใช้น้ำยาดัดเย็น (Cold Wave Lotion) เนื่องจาก
การใช้งานที่สะดวก มีองค์ประกอบหลัก คือ กรดไธโอกลีคอลิก (Thioglycolic Acid) เป็นสารที่ทำให
้โครงสร้างของโปรตีนในเส้นที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) มีความอ่อนตัวมากขึ้นทำให้จัดรูปทรง
ได้ตามความต้องการ แต่มีข้อเสียคือ มีกลิ่นฉุน กัดหนังศีรษะทำให้ระคายเคืองและเส้นผมแตกปลาย ดังนั้นเมื่อใช้น้ำยาดัดผมแล้วต้องทำการโกรกผม ด้วยน้ำยาโกรกผม (Neutralizer Lotion) ที่มีองค์ประกอบของสารละลายโพแทสเซียมโบรเมต (Potassium Bromate : KBrO3)
หรือโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium Chlorate :KClO3) ผสมกับน้ำหอมที่ละลายในน้ำน้ำยานี้ช่วยทำ
ให้ฤทธิ์ของกรดไธโอกลีคอลิก หมดไปจึงไม่ทำให้เส้นผมแตกปลาย และเกิดการระคายเคืองหนังศีรษะ



น้ำยาย้อมผม (Hair Colorant)
เป็นผลิตภัณฑ์แต่งสีผมพื่อกลบเกลื่อนลักษณะของสีผมและเพิ่มความ
สวยงาม แบ่งได้ 3 กลุ่ม ตามระยาเวลาความคงทนของสี ดังนี้
1. น้ำยาย้อมผมชั่วคราว เป็นน้ำยาย้อมผมที่ไม่คงทนถาวร ทำหน้าที่เคลือบ
เส้นผมเท่านั้นสามารถล้างออกได้ ้ เมื่อสระผม
2. น้ำยาย้อมผมกึ่งถาวร เป็นน้ำยาย้อมผมที่ทนต่อการสระผมได้ประมาณ 3-6
ครั้งสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่มี โมเลกุลขนาดเล็กจึงสามารถจับโปรตีนของเส้นผมได้ดี
3. น้ำยาย้อมผมถาวร เป็นน้ำยาย้อมที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากน้ำยา
จะติดผมได้นานหลายสัปดาห์จนกว่าจะมีเส้นผมงอกออกมาใหม่
นิยมย้อมทุกๆเดือนหรือ 3 เดือนต่อครั้ง

นูริชชิ่งครีมหรือไนท์ครีม (Nourishing Cream or Night Cream)

1/31/2013

 
นูริชชิ่งครีมหรือไนท์ครีม (Nourishing Cream or Night Cream)
เหมาะสำหรับคนผิวแห้งเพราะมีส่วนประกอบของน้ำมันสูงเวลาทาต้องปล่อยไห้ค้างอยู่บนใบหน้าหลายชั่วโมง
เพื่อให้น้ำมันทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่จึงนิยมใช้ทาตอนกลางคืนแล้วจึงล้างออกด้วยสบู่ล้างหน้าในตอนเช้า
ส่วนครีมนวดใช้สำหรับนวดหน้าเป็นการกระตุ้นให้เซลที่ตายแล้วหลุดออกไปและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
ทำให้แลดูมีชีวิตชีวามักมีส่วนผสมของวิตามิน เช่น Vitamin B, Vitamin C, Vitamin D, Vitamin E หรือน้ำผึ้ง
ครีมสำหรับทามือและร่างกาย (Hand and Body Cream)

ใช้ทาลำตัว แขนขา ซึ่งมีพื้นที่มากจึงมักพบในรูปของโลชั่นมากกว่าครีม เพราะต้องใช้ในปริมาณ
มากประกอบด้วยสารป้องกันผิว (Protective Agent) สารบำรุงผิว (Healing Agent) ให้แก่สารป้องกันผิว
(Protective Agent) สารบำรุงผิว (Healing Agent) ให้แก่ผิวหนังที่เสื่อมสภาพและสารที่เพิ่มความหนืด
(Thickener and Film Former) ทำให้สูญเสียน้ำน้อยทำให้เกิดความเย็น

ครีมอเนกประสงค์ (All-Purpose Cream)เป็นครีมที่ใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ยกตัวอย่างเช่น
ยาระงับกลิ่นตัว กลิ่นตัวเกิดจากต่อมกลิ่นสารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันและสารสเตอรอย์
ออกมาในรูปเหงื่อ เมื่อสัมผัสจุลินทรีย์ จะถูกย่อยสลายเป็นสารเอมีน (Amine)และแอมโมเนีย (NH)
ซึ่งมีกลิ่นฉุน ดังนั้นการระงับกลิ่นตัวทำโดยการระงบการหลั่งของเหงื่อกั้นไม่ให้เหงื่อออกมาที่ผิวหนัง
,ขจัดเหงื่อที่ออกมาที่ผิวหนังโดยเร็ว ใช้สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ สารระงับกลิ่นที่นิยมมีดังนี้
1.เกลืออะลูมิเนียม (Aluminum Salts) เช่น อะลูมิเนียมอัลโคเลต (Aluminium Alcholate) อะลูมิเนียมไฮดรอกซิลคลอไรด์(Aluminium Chloride) เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้จะมีความเป็นกรดสูง
(pH 1.5 - 4)ทำให้เกิดการระคายเคือง ทำลายเสื้อผ้า โดยเฉพาะผ้าลินินและผ้าฝ้าย การแก้ไขทำโดยการเติม
สารละลายบัฟเฟอร์ เช่น อะซิตาไมด์(Aectamide) ไกลซีน (Glysine) เบสิกอะลูมิเนียม
โฟเมต (Basic Aluminium Formate) นอกจากระงับเหงื่อได้แล้วยังขจัดกลิ่น และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
ที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ด้วย
2.เกลือเซอร์โคเนียม (Zirconium) เช่นเซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium Oxide)
เซอร์โคเนียมไฮดรอกไซด์ (Zirconium Hydroxide) ซึ่งทำปฎิกิรียาได้ดีกักรดไขมันและเอมีนไนเหงื่อ
ให้กลาย เป็นสารที่ไม่มีกลิ่น นอกจากนี้การนำสารนี้มาใช้ร่วมกับเกลืออะลูมิเนียม จะทำให้มีประสิทธิภาพ
ดีขึ้น ช่วยลดการระคายเคืองผิวและการทำลายเสื้อผ้า

ครีมกันแดด (Sun Screen) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet:UV)
โดยเฉพาะ UV-A ที่ทำให้เกิดผิวสีคล้ำ และUV-B ที่ทำให้เกิดการบวมแดง ดังนั้นในการป้องกัน คือ การพยายาม
ไม่ให้รังสี UV สัมผัสกับผิวหนัง มี 2 วิธีคือ
1.ป้องกันโดยการสะท้อน โดยใช้สารที่เป็นตัวสะท้อนแสง ป้องกันไม่ให้รังสี UV
สัมผัสผิวหนัง เช่น ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
แมกนีเซียมคาร์บอเนต (Magnesium Carbonate) แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)
แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide)
2.ป้องกันโดยการดูดกลืน โดยการใช้สารดูดกลืนรังสี UV ไว้ในตัว ได้แก่ สารประกอบอินทรีย์พวก
Aliphatic, Aromatic, Heterocyclic เป็นต้น ทำให้พลังงานของรังสี UV น้อยลงโดยการทำให้รังสี V
มีความยาวคลื่น มาก กว่าเดิม เป็นผลให้ไม่เกิดการแพ้และอาการบวมแดงค่าที่บอกบอกถึงประสิทธิ
ของผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด คือ

MPE (Minimum Perceptible Erythema) คือ อาการผื่นแดงน้อยที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า
MED (Minimum Erythanal Dose) คือปริมาณที่น้อยที่สุดของพลังงานที่ทำให้เกิด MPE
SPF (Sun Protection Factor) คือ อัตราส่วนระหว่าง MED เมื่อทาผิวหนังด้วยผลิตภัณฑ์ป้องกัน
แสงแดดกับ MED เมื่อทาผิวหนังปราศจากสิ่งปกปิดในคนๆ เดียวกัน โดยมีการกำหนดค่าไว้ดังนี้
SPF 2 หมายถึง Minimal Protection ให้การป้องกันน้อยที่สุด ซึ่งทำให้เกิดสีผิวคล้ำ
SPF 4 หมายถึง Moderate Protection ป้องกันแสงได้ปานกลาง ทำให้เกิดสีผิวคล้ำได้น้อยมาก
SPF6 หมายถึง Extra Protection ป้องกันแสงได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดสีผิวคล้ำได้น้อยมาก
SPF 8 หมายถึง Maximal Protection ป้องกันแดดได้สูงมากจนเกือบไม่มีสีผิวคล้ำเกิดขึ้นเลย
SPF 15 หมายถึง Ultra Protection ป้องกันแดดได้สูงสุดและไม่ให้เกิดสีผิวคล้ำเลย

เครื่องสำอางชะลอความแก่
ความแก่เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา สาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของสาร Soluble Collagen
ซึ่งทำหน้าที่ให้ความยื่ดหยุ่นแก่เซล ทำให้เซลสามารถอุ้มน้ำและความชุ่มชื้นได้ดี ทำให้เซลเต่งตึง
ไม่เหี่ยวแห้งเมื่ออายุมากขึ้น Soluble Collagen ก็แปรสภาพไปทำให้เกิดริ้วรอย เหี่ยวย่นบนใบหน้า
นอกจาก Soluble Collagen แล้วสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ฮอร์โมนและวิตามิน ก็มีผลต่อความแก่
เพราะเมื่อเรา อายุมากขึ้นฮอร์โมนจะลดลงตามอายุ ทำให้การควบคุมการทำงานของต่อมต่างๆ
น้อยลงยิ่งค้าขอดวิตามิน ด้วยแล้วก็จะทำให้เซลด้อยละไปด้วย จึงทำให้แก่เร็วยิ่งขึ้น องค์ประกอบของ
เครื่องสำอางชะลอความแก่ มีหลายชนิด ชนิดที่มีความสำคัญได้แก่
1. สาร Soluble Collagen เป็นสารสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ต้องได้รับจากธรรมชาติ
โดยสกัดจากหนังสัตว์ ที่มีอายุน้อย เช่นหนังลูกวัว เพื่อนำมาทดแทน Soluble Collagen ที่ผิวหนังของมนุษย์แปรสภาพไป
2. ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางมี 3 ชนิด คือ
2.1 เทสโตสเตอโรน (Testosterone) และโปรเจสเตอโรน (Progesterrone) ทำให้ผิวหนัง
ที่เหี่ยวย่น เต่งตึงขึ้นได้แต่มีผลทำให้มีขนมากขึ้นและเหงื่อออกมาก จึงเป็นฮอร์โมนที่ห้ามนำมาใช
้ในเครื่องสำอาง
2.2 คอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) มีประโยชน์ในการรักษาอาการอักเสบ และการแพ้
ของผิวหนัง จัดอยู่ในพวกยารักษาโรค การใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ มีผลทำให้หนังกำพร้า หนังแท้ ฝ่อลีบและทำให้ผิวหนังบางลง
2.3 เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ใช้เพื่อลบรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังส่วนการใช
้เอสโตรเจน มีข้อกำหนดในส่วนปริมาณ และชนิดของผลิตภัณฑ์ เป็นฮอร์โมนที่นิยมนำมาใส่ในเครื่องสำอาง
3. วิตามิน (Vitamin) เป็นสารที่เข้าไปเสริมการทำงานของเซลผิวหนัง ให้ทำงานดีขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้นแก่เซล
มีความปลอดภัยมากกว่าฮอร์โมน ออกฤทธิ์ต่อเซลผิวหนังได้ดี แต่เห็นผลช้าต้องใช้ติดต่อกันนานพอสมควร
วิตามินที่นำมาใส่ในเครื่องสำอาง
3.1 วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน บี5, วิตามิน บี6
3.2 วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ, วิตามิน ดี, วิตามิน อี
ชนิดของวิตมิน
วิตมินบี 5 ได้มาจากเนื้อสัตว์ ถั่ว ยีสต์
ประโยขน์ที่ไ้ด้
- กระตุ้นการสร้างหนังกำพร้า รักษาโรคผิวซีด รักษาแผลเปื่อย แผลไหม้ รักษาโรคผิวหนัง
อักเสบจากอาการแพ้ บำรุงเส้นผมและขน
โรคที่เกิดจากการขาดวิตมิน บี 5
- เกิดที่ผิวหนังอักเสบ มีอาการทางประสาท ปากลิ้นอักเสบ
วิตมิน บี 6 ได้มาจาก เนื้อสัตว์ ถั่ว กล้วย ยีสต์
ประโชยน์ที่ได้รับ
- รักษาโรคผิวหนังอักเสบจากไขมัน หล่อลื่นผิวหนัง
โรคที่เกิดจากการขาดวิตมิน บี 6
- ผิวหนังฝ่อ แห้งหยาบ ต่อมไขมันฝ่อ เซลสร้างขนฝ่อ
วิตมิน เอ ได้มาจาก เนื้อสัตว์ ไขแดง นม ฟักทอง มะละกอ นํ้ามันตับปลา
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ป้องกันโรคผิวหนังเกิดจาการแพ้ รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเคราดินและเม็ดตุ่มผอง
โรคที่เกิดจากการขาดวิตมิน เอ
- โรคผิวหนังตกสะเก็ด เล็บเปาะ ผิวหนังมีสีเข็มขึ้น
วิตามิน ดี ได้มาจาก ตับ ไข่ เนย
ประโยชน์ที่ได้รับ
- รักษาโรคเรื้อนกวาง รักษาโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง กระตุ้นการสร้างหนังกำพร้าทำให้แผล
ที่เกิด ไฟใหม้หายเร็ว กระตุ้นการสร้างสีผิว
โรคที่ขาดวิตมิน ดี
- เกิดแผลได้ง่าย ผิวแห้ง
วิืตมิน อี
ประโยชน์ที่ได้จากวิตมิน ดี
- ป้องกันการสูญเสียความชื้น รักษาแผลเปื่อยแผลไหม้ ลดอาการคันและการแพ้
ช่วยสะสมตัวของวิตมินเอ
โรคที่เกิดจากการขาดวิตมิน ดี
- ผิวหนังแห้งหยาบ


ฟันเดชั่นครีม (Foundation Cream)

1/31/2013

 
ฟันเดชั่นครีม (Foundation Cream)

หรือครีมรองพื้นใช้ทาเวลากลางวันก่อนแต่งหน้า เพื่อป้องกัน
ฝุ่นเกาะติดใบหน้าทำ ให้สามารถทาแป้งอื่นทับลงไปได้
ส่วนประกอบหลักคือ สีผสมผงสารกันบูด และสารป้องกัน
แสงแดด (Sun Screen) เพื่อป้องกันใบหน้า จากแสงแดด
ซึ่งมักก่อให้เกิดฝ้าตามมามอยซ์เจอร์ไรเซอร์ ครีมหรือ
อีมอลเลียนท์ครีม (Moisturizer Cream or Emollient Cream)

มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ครีม (Moisturizer Cream) คือ สารที่ทำให้เกิดความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังทำให้ผิวหนัง
อ่อนนุ่ม และมีความยืดหยุ่นดี แบ่งได้ 3 ประเภท
1. ออคคลูชั่น (Occlusion) คือ สารที่ป้องกันการระเหยของน้ำ ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน
2. ฮิวเมกแทนซี (Humectancy) คือ สารที่ดูดน้ำจากอากาศเข้าสู่ผิวหนังทำให้ผิวหนังชุ่มน้ำได้แก่
กลีเซอรีน (Glycerin) โพรไพลีน ไกลคอล (Propylene Glycol)
3.รีสโตเลชั่น ออฟฟิเซียน เมตทีเรียล (Restoration of Deficient Materials) คือ สารที่นำมาใช้ทดแทนสารที่ขาดหายไปจากผิวหนัง เช่น การใช้สารคอลลาเจนมาใช้แทนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์
ตามธรรมชาติ (Natural Moisturizing Factor:NMF) ซึ่งเป็นสารที่รักษาความชื้นตามธรรมชาติในผิวทำให้
ผิวหนังอุ้มน้ำได้ดี
อีมอลเลียนท์ครีม (Emollient Cream) คือ สารที่ทำหน้าที่เป็นมอยเจอร์ นอกจากนั้น
ยังทำหน้าที่หล่อลื่อผิว ลดความเสียดทาน ทำให้ผิวนุ่มนวลเนียนและลื่นมือเวลาสัมผัส มี 10 ชนิดได้แก่
1. ลาโนลิน (Lanolin) เป็นพวกเอสเทอร์ เป็นสารที่ทำให้หนังกำพร้ากลับคืนสภาพปกตตโดยเคลือบเป็นฟิล์ม แต่ไม่มีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายัจจุบันได้มีการผลิตอนุรักพันธ์ของลาโนลินในรูปต่างๆ
เพื่อคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น Liquid Lanolin,Lanolin Wax, Lanolin Alcohol, Modofied Lanolin,
Polyoxyakylene Lanolin ,Lanolin Fatty Acid เป็นต้น
2. สเตอรอยตด์ (Steroids) ที่นิยมใช้คือ คลอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารพวกไขมัน
ทำมันทำหน้าที่ ป้องกันการระคายเคืองผิวทำให้ผิวชุ่มชื้นและใช้ทดแทนไขมันตาม ธรรมชาติของผิวหนังที่ถูก
ขจัดออกโดยสบู่ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ปัจจุบันได้มีการผลิตคลอเลสเตอรอลที่ละลายน้ำได้มีชื่อทางการค้าว่า โซลูน่า-24 (Soluna-24) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบของโลชั่นที่มีน้ำในสูตรมาก
3.ฟอสฟอรัสไลปิด(Phospholipids) เป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไขมัน(Fatty Acid)กลีเซอรอล
(Glycerol) ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogeneous Base) และกรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid) ไม่ละสายน้ำ
แต่ละลายได้ดีในไขมัน อุ้มน้ำไว้ในตัวเองได้ ทำให้ผัวหนังชุ่มชื้น
4.ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocbon) ทำหน้าที่ ป้องกันการสูญเสียน้ำ โยการเกิดเป็นฟิล์มบางๆปกคลุม
ผิวหนัง เช่น Mineral Oil, Parafin Wax, Pretolatum,Ozokerite เป็นต้น
5.แวกซ์ (Waxes) ทำหน้าที่ เพิ่มความหนืดและหล่อลื่นผิว เช่น Carnauba Wax,Beeswax
Spermaceti เป็นต้น
6.ซิลิคอน ออย (Silicone Oil) เป็นสารที่ช่วยป้องกันการแพ้ขนองผิวหนัง ติดผิวหนังดี ช่วยเพิ่ม
ความหนืด ทำให้ครีมมีลักษณะข้นและทาง่าย เช่น Dimethyl Polysiloxanes, Methrl Polysiloxanes เป็นต้น
7.น้ำมันพืช (Vehetable Oil) เป็นสารป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยเกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้
จะมีความมันและหนืด เช่น Olive Oil,Castor Oil เป็นต้น
8.กรดไขมัน (Fatty Acid) เป็นสารที่ทำให้เกิดฟิล์มบางๆคลุมผิวป้องกันการสูญเสียได้ ที่นิยมใช้มาก
ที่สุดคือ กรดสเตียริก น้ำเพราะอุ้มน้ำไว้ในโมเลกุลได้ ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ กรดสเตียริก (Stearic Acid)
9.แฟตติแอลกอฮอล์ (Fatty Alcohol) เป็นฟิล์มคลุมผิวไว้ ช่วยเพิ่มความหนืดไห้กับผลิสตภัณฑ์
ที่นิยมใช้มี2ชนิด คือStearyl Alcohol และ Cetyl Alcohol
10.เอสเทอร์ของกรดไขมัน (Fatty Acid Ester) เป็นสารเคลือบผิวซึ่งไม่เป็นมัน ไม่เหนียวเหนอะหนะ เช่น
Butyl Stearate, Isopropyl Stearate,Isopropyl Palmitate เป็นต้น

เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง 

1/31/2013

 
เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง
เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง เป็นผลิตภัณฑ์ครีมหรือโลชั่นใช่สำหรับผิวหนัง เพื่อบำรุงและถนอมผิวพรรณให้มีความชุ่มชื้น นุ่มนวล เมื่อสัมผัส แบ่งได้ 6 ประเภท
1. วานิชชิ่งครีม (Vanishing Cream)
2. ฟันเดชั่นครีม (Foundation Cream)
4. นุริชชิ่งครีมหรือไนท์ครีมและครีมนวด
(Nourishing Cream or Night Cream and Massage Cream)
5. ครีมสำหรับทามือและร่างกาย (Hand and Body Cream)
6. ครีมอเนกประสงค์ (All-Purpose Cream)

วานิชชิ่งครีม (Vanishing Cream) ลักษณะเป็นครีมผงมุก เวลาทาบนผิวหน้าจะกระจายตัวได้ดี เมื่อลูกไล้นานๆเนื้อครีมจะหายไปเหลือแต่คราบบางๆปกคลุมผิวนุ่มนวล มีส่วนประกอบดังนี้
1. กรดสเตียริก (Stearic Acid)
2. ด่างหรือเบส (Base) ที่ใช้ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์(KOH)
แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) แต่นิยมใช้ โพเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เพราะจะได้ครีมเนื้อละเอียด
และเนียนสวย
3. ฮิวเมกแทน (Humectant) คือ สารดูดความชื้นในอากาศไว้ในตัว เพื่อทำงานให้ผิวหนังชุ่มชื้นและ
ไม่ทำให้เนื้อครีมแห้ง เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆที่นิยมใช้คือ พอลิโพรไพลีนไกลคอล (Polyprorylene Glycol) เพราะมีคุณสมบัติเป็นมอยซ์เจอร์ไรเซอร์แล้วยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้ออ่อนๆ เมื่อใช้ในความเข้มข้น 8%
4.สารป้องกันกลิ่นหืน (Antioxidant)

เครื่องสำอาง (Cosmetics) 

1/31/2013

 
เครื่องสำอาง (Cosmetics)

เครื่องสำอางเป็นวัตถุที่ใช้ทาหรือสัมผัสกับร่างกายภายนอกเพื่อให้เกิด
ความสวยงาม ปกปิดรอยด่างดำ ป้องกันกลิ่นำรุงผิวให้เสื่อมโทรมช้าันั้น
การใช้เครื่องสำอางควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพราคาพอสมควร
และต้องใช้ให้ถูกวิธี สิ่งที่สำคัญประกอบการใช้เครื่องสำอาง คือ
การรักษาสุขภาพ ของร่างกาย โดยการออกกำลังกาย

ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง
เครื่องสำอางนั้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็ใช้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบมากมายหลายชนิด
พอสรุปได้ดังนี้
1.หัวน้ำหอม ได้จาก
1.1 ธรรมชาติ เช่น จากการสกัดเอาน้ำมันหอมจากดอกไม้หรือเปลือกไม้ ยกตัวอย่าง เช่น น้ำมันจากส้ม
(Orange Oil) น้ำมันจากมะนาว (Lemon Oil)
1.2 การสังเคราะห์ ได้จาก สารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภท เอสเทอร์ (Ester)
2.ไขมันและน้ำมัน มี 2 ลักษณะคือ เมื่ออุณหภูมิปกติจะอยู่ในรูปของแข็งเรียกว่า ไขมัน (Fat) ถ้าได้รับความร้อนจะอยู่ในรูปของเหลวเรียกว่า น้ำมัน (Oil) ไขมันและน้ำมันเหล่านี้ได้จาก
2.1 จากพืช เช่น น้ำมันหมู ไขวัว ไขปลาวาฬ ขี้ผึ้ง
2.2 จากการสังเคราะห์ เช่น ขี้ผึ้งพาราฟิน พาราฟินเหลว Hydrogenated Oil
3. ตัวทำลาย ตัวทำลายมีมากมายหลายชนิด ตัวทำละลายที่เรารู้จักและใช้มานานคือน้ำ แต่น้ำก็ไม่สามารถ
ละลายไขมันและน้ำมันได้ จึงต้องเลือกตัวทำลายอื่น ที่สามารถละลายไขมันและน้ำมันได้
ยกตัวอย่างเช่น
3.1 พวกแอลกฮอล์ ได้แก่ เมธิลแอลกฮอล์ (Methyl Alcohol) เอธิลแอลกอฮอล์
(Ethyl Alcohol) บิวทิลแอลกอฮอล์ (Butyl Alcohol)
3.2 พวกเอสเทอร์ (Ester) ได้แก่ เอธิลอะซิเตต (Ethyl Acetate) เอมิลอะซิเตต
(Amyl Acetate) บิวทิลอะซิเตต (Butyl Acetate)
3.3 พวกคีโตน (Ketone) ได้แก่ อะซิโตน (Acetone) เมทิลเอทิลคีโตน (Methyl Ethyl Ketone)
4. สี (Colors) สีที่ใช้ในเครื่องสำอางมี 2 ประเภท คือ สีที่ละลายในน้ำ และสีที่ละลายใน และสีที่ละลายใน
ไขมันและน้ำมัน การจะเลือกใช้สีประเภทใดขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก จะใช้สีที่ละลายใน
ไขมันและน้ำมัน สีที่ปลอดภัยต้องได้รับการรับรองให้ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำไปใช
้ผสมอาหารหรือยาได้ สังเกตได้จากข้อความต่อไปนี้
- F D & C Color (Food Drug and Cosmetic Color)
- D & C Color (Drug and Cosmetic Color)
- Ext. D & C Color (External Drug and Cosmetic Color)

ประเภทของเครื่องสำอาง

เครื่องสำอางที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จะแบ่งเครื่องสำอางตามลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้งาน ดังนี้
1. เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง
2. เครื่องสำอางชะลอความแก่
3. เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า
4. เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า
5. เครื่องสำอางที่ใช้ในช่องปาก

<<Previous
    Picture

    Thanapon
    Siradulyakorn

    Sales Representative, Admin, bloger about Chemicals

    Archives

    August 2013
    May 2013
    March 2013
    February 2013
    January 2013

    Categories

    All
    กลีเซอรีน
    กลีเซอรีน
    Anionic
    Glycerin
    Glycerine
    N70
    Sles
    Surfactanct

    RSS Feed

COMPANY

Home
About Us
Ouir Partner
Blog

Forums

PRODUCTS

Glycerine
Surfactancts
Fatty Alcohol
Fatty Acid
Stearic Tripple Press
Other

SUPPORT

Job opportunity
FAQs
Contact
Order
Admins
Picture
© 2013 Siam Absolute Chemicals Co., Ltd    All Rights Reserved. 
85/38 หมู่ 11 ซ.พหลโยธิน 64 (แข็งขัน 3) ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 Thailand 
Tel.+66 65-7924695 Tel : +66947929545   E-mail : thanud@siamabsolute.co.th
Sale Representative.  +6665 792 4695 E- mail :  Ratchakornnine@gmail.com
Photo used under Creative Commons from billaday